วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของลูกปัดโคกพริก ต.คุ้งกระถิน อ.เมือง จ.ราชบุรี

ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งกระถิน ได้ประสานให้สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๑ ราชบุรี ตรวจสอบบริเวณที่พบโครงกระดูกหลังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งกระถิน จากการวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบประกอบข้อมูลทางด้านโบราณคดีอื่นๆทำให้ทราบว่าโครงกระดูกที่ขุดพบมีอายุในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ ๒,๐๐๐ปี ซึ่งการขุดพบโครงกระดูกโบราณครั้งนี้ได้มีการขุดพบวัตถุอย่างอื่นที่อยู่บริเวณศพด้วย ประกอบด้วย เศษภาชนะดินเผา แบบเนื้อดิน ( carthenware) ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีทั้งผิวเรียบและตกแต่งลวดลายส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายกดประทับเป็นลายเชือกทาบและลายขูดขีด โบราณวัตถุประเภทดินเผาอื่นๆ ที่พบได้แก่ แวดินเผา มีลักษณะรูปทรงกลมแบนและทรงกรวยนูนข้างด้านใดด้านหนึ่ง มีขนาดต่างๆเจาะเป็นรูตรงกลางนอกจากนั้นยังมีพวกลูกกระสุนดินเผา กระดูกสัตว์ ประเภทต่างๆ เช่น วัวควาย หมู พบชิ้นส่วนกระดูกข้อต่อ กระดูกสันหลัง พวกฟันสัตว์ นอกจากนั้นยังพบเปลือกหอยแครงรวมอยู่ด้วยเครื่องประดับ ประเภทกำไลเปลือกหอย ลูกปัดทำจากหินสี ลูกปัดแก้วสีต่างๆและลูกปัดจากกระดูกสันหลังปลา โดยการนำมาฝนให้ได้รูปและเจาะเป็นรูตรงกลาง ลูกปัดหลากสีของบ้านโคกพริก ตำบลคุ้งกระถิน จำนวนมากมาย ที่บรรจุอยู่ในหม้อ ไห และสวมใส่บนร่างกายของโครงกระดูกที่ฝังรวมกัน ลูกปัดที่ขุดพบส่วนใหญ่ทำจาก กระดูกสัตว์ ยางไม้ แก้ว ดินเผา เปลือกหอย หินสี ซึ่งชาวบ้านในละแวกนั้นได้ขุดพบได้ในช่วงที่ฝนตกหนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น